แชร์

เชื้อราแมวรักษาอย่างไร รู้ทัน รักษาไว พร้อมวิธีรักษาอย่างตรงจุด | เปิดตำราสัตว์เลี้ยง

Logo-Invoice_1.png Chamai Petcare
อัพเดทล่าสุด: 2 ม.ค. 2025
60 ผู้เข้าชม

เชื้อราหรือ Microspore นั้นมีหลากหลายแบบและสามารถแพร่กระจายหรือกลายพันธุ์ไปเป็นแบบต่างๆได้ง่าย ไล่ระดับอันตรายจาก เบา และอันตรายมาก วันนี้พวกเรา Chamaipetcare จะอธิบายถึงเชื้อราและวิธีรักษาให้ทุกคนเข้าใจกันง่ายๆกันนน!

อาการของเชื้อ

เชื้อราส่วนใหญ่กว่า 90% มักเกิดจาก Microspore rum canis การสังเกตุแมวที่ติดเชื้อรานั้นสังเกตุได้ไม่อยากแมวจะเริ่มมีอาการคัน เกาบ่อยขึ้น อาจจะเกิดได้บริเวณต้นขา ท้อง หรือบริเวณจุดอับใกล้ๆคอ รุงแรงขึ้นอาจจะมีอาการขนร่วงเป็นวง มีวงเป็นสีแดงรอบวงสีแดงเป็นขุยขาว หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า Ringworm เชื้อราสามารถติดต่อกันได้ง่าย หากมีแมวอยู่รวมกันหลายตัว และที่สำคัญสามารถติดสู่คนได้นะ

เชื้อราเกิดจากอะไร

  • เชื้อราส่วนใหญ่จะเกิดจากสภาพอากาศที่ชื้น
  • เบาะนอนไม่ได้รับแดดหรือทำความสะอาดอย่างเพียงพอ
  • ชอบนอนในห้องน้ำ
  • ภูมิคุ้มกันบกพร่อง
  • จากแมวที่แข็งแรงเป็นทุนเดิม ส่วนใหญ่มักเกิดจากลูกแมวอายุไม่ถึง 8 สัปดาห์

หลายคนอาจจะสงสัยสัตว์เลี้ยงที่บ้านไม่มีปัจจัยเสี่ยงที่ว่ามาเลยทำไมถึงเป็นเชื้อราได้ละ?

  • ต้องอธิบายแบบนี้ เนื่องจากสัตว์เลี้ยงทุกตัวจะมีเชื้อราอยู่กับตัวอยู่แล้ว หรือเรียกว่าโรคแฝง การที่เชื้อจะเกิดขึ้นได้แค่การที่ภูมิคุ้มกันตกหรือสัตว์เลี้ยงอยู่ในสภาะเครียดมากๆก็ทำให้น้องๆเป็นเชื้อราได้เหมือนกัน
  • แล้วควรดูแลยังไงสัตว์เลี้ยงที่เรารักถึงจะไม่เป็นเชื้อรา?
  • ดูแลเรื่องภูมิคุ้มกันของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นขนมหรืออาหารเสริมที่มีส่วนผสมของ Beta Glucan และ L-Lysine
  • ไม่พาสัตว์เลี้ยงของเราไปอยู่ในสถานที่ ที่อาจจะทำให้น้องๆเกิดสภาวะเครียดได้ง่าย
  • ไม่ย้ายสถานที่ให้กับสัตว์เลี้ยงบ่อยๆ โดยเฉพาะแมวที่เป็นสัตว์ขี้ระแวง การย้ายถสานที่ควรจะมีสเปรย์หรือฟีโรโมนแมวไว้คอยระงับสภาวะทางอารมณ์
  • แปรงขนให้น้องบ่อยๆ การที่น้องไม่ได้รับการแปรงขนเป็นประจำอาจจะทำให้ขนเสียสะสมและทำให้เกิดความชื้น และเป็นเชื้อราได้

เชื้อรามีแบบไหนบ้างละ?

มาเริ่มกันจากเชื้อราธรรมดาที่แมวส่วนใหญ่จะเป็นหรือเรียกกันว่า Ringworm เกิดจากกาแพร่กระจ่ายของเชื้อ Microsporum Canis ลักษณะจะเป็นวงสีแดง มีขุยขาวๆเป็นเส้นยาวรอบวง หรือในบางรายอาจจะมีตรงกลางว่างเปล่าแต่มีวงสีแดงรอบๆแทน อาการไม่ค่อยรุนแรง การแพร่กระจาย จะห่างกันเป็นจุดๆวงๆ ขยายเป็นวงกว้างตามบริเวณ ติดไปถึงจุดอื่นได้ตามเล็บที่น้องเกา หรือเลีย

วิธีการสังเกตุ

  • แหวกขนดูตามจุดที่เสี่ยงและขนบางหลุดร่วง
  • ใช้ UV Lamp ไฟสีม่วงในการส่อง หากมีเชื้อราในบริเวณไหน จะมีการเรืองแสงขึ้นมา
  • เพื่อความชัวมากขึ้น สังเกตุอาการภายใน 7-21 วัน เพราะเป็นระยะฟักตัวของเชื้อรา

วิธีการรักษา

  • รับประทานยากลุ่มต้านเชื้อรา เช่น Terbinafine Itraconazole หรือ Fluconazole เป็นต้น
  • ใช้ยาประเภทจุ่ม หรือทาบริเวณผิว ได้แก่ Funginox Lamisil โดยยาประเภทนี้จะเหมาะมากกับสัตว์เลี้ยงที่อายุน้อย และไม่สามารถทานยาได้ปกติ
  • ใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของ Miconazole Ketoconazole หรือ 2% Chlorhexidine ซึ่งสามารถลดจำนวนของเชื้อราลงได้
  • การตัดขนร่วมกับการรักษา เป็นตัวเลือกที่ไม่จำเป็นเสมอไป โดยการโกนขนอาจทำให้ประสิทธิภาพการทายาดียิ่งขึ้นได้ แต่ก็อาจส่งผลต่อการกระจายตัวของเชื้อรามากขึ้น
  • หลังการรักษาข้างต้นอย่างต่อเนื่อง สัตวแพทย์จะทำการเพาะเชื้อจนกว่าจะไม่พบเชื้อรา 1-2 ครั้ง ห่างกัน 2-4 สัปดาห์ นอกจากนี้ยังสามารถสังเกตร่วมกับรอยด่างของโรคที่จะค่อยๆ จางลง และหายไปในที่สุด

การรักษาเชื้อราที่ดีและหายขาด

  • หากในลูกแมวควรใช้ สเปรย์ ในการประคองอาการไปก่อน รับประทานยาเสริมภูมิ
  • หากในแมวโตที่มีน้ำหนักมากพอในการรับประทานยา (การรับประทานยานั้นอาจจะส่งผลต่อตับได้เล็กน้อยถึงมาก ขึ้นอยู่กับตัวยา)
  • ยาที่แนะนำจึงเป็นกลุ่ม Itraconazole เพราะส่งผลเสียต่อตับน้อยกว่า ต้องทานยาเป็นเวลาติดต่อกันอย่างน้อย 30 วัน และทานต่อไปเรื่อยๆจนกว่าเชื้อราจะหายขาด ส่วนใหญ่จะใช้เวลา 30-60 วันเคสที่ไม่หนักมาก แนะนำให้ทานยาตามน้ำหนักตัว หรือปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนทาน (ควรทานคู่กับยาบำรุงตับ)
  • สามารถใช้แชมพูรักษาเชื้อราควบคู่ด้วยได้เพื่อลดระยะเวลาในการทานยาให้สั้นลง

เชื้อราแบบที่ 2 Sporothrix หรือที่รู้จักกันในชื่อ เชื้อรากินเนื้อ เชื้อราขั้นรุนแรง

เป็นการติดเชื้อขั้นรุนแรง ไม่แพร่กระจายเป็นจุดส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในจุดเดียวและขยายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว ไม่มีขุยรอบวง แต่บริเวณศูนย์กลางมักจะโดนเชื้อรากัดกินจนเป็นแผลติดเชื้อขนาดใหญ่ กว้างและลึก คล้ายๆการติดเชื้อแบคทิเรีย อาจจะทำให้สัตว์อ่อนแรงลงอย่างรวดเร็ว มีไข้ หนักถึงขั้นเสียชีวิตได้ และบริเวณที่เป็นแผลสามารถติดต่อกับคนได้อย่างรวดเร็วและรุงแรง

วิธีการสังเกตุ

  • จุดบริเวณที่ขนร่วงอาจจะมีแผลเหวอะ แผลลึกเหมือนแผลติดเชื้อได้แบบไม่ทราบสาเหตุ
  • อาจจะมีไข้สูงร่วมด้วย หรืออาการเบื่ออาหาร
  • วิธีการรักษา
  • ใช้วิธีรักษาแบบอาการข้างต้น แต่การระยะต้องยืดเวลาและกินเวลาออกไปนานกว่า
  • การใช้ยากลุ่ม Itraconazole อาจจะต้องได้รับยานานถึง 6 เดือน หรือในกรณีที่หนักมาก อาจจะต้องใช้ระยะเวลาถึง 1 ปี
  • ผู้เลี้ยงควรสวมถุงมือทุกครั้งหากต้องสัมผัสหรือล้างแผลให้กับสัตว์เลี้ยง
  • ควรกักบริเวณไว้ในจุดที่ปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการแพร่กระจาย

บทความที่เกี่ยวข้อง
3 อาการลูกสุนัขมีพยาธิ
ลูกสุนัขก็มีพยาธิได้เหมือนกัน 3 อาการหลักๆ ที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขของคุณกำลังมีพยาธิ พร้อมสาเหตุและวิธีแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุด!
Logo-Invoice_1.png Chamai Petcare
25 ม.ค. 2025
บาเวคโต้
บราเวคโต้ ผลิตภัณฑ์กำจัดและป้องกันเห็บหมัด ไรขี้เรื้อน ยาวนาน 12 สัปดาห์ ทำไมถึงคนถึงนิยมใช้มากขึ้น แล้วช่วยเรื่องอะไรบ้าง วันนี้เราจะมีอธิบายกัน!
Logo-Invoice_1.png Chamai Petcare
17 ม.ค. 2025
5 สาเหตุทำไมสุนัขและแมวเกาตัวเองตลอดเวลา
สัตว์เลี้ยงของพวกท่านมีอาการคันและเกาตลอดเวลาโดยไม่ทราบสาเหตุ นั้นเป็นอาการบ่งบอกถึงสิ่งใดได้บ้าง ที่สัตว์เลี้ยงของเราพยายามจะสื่อ?
Logo-Invoice_1.png Chamai Petcare
12 ม.ค. 2025
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy